วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 โรคระบาด Covid-19

    


1.ข้อมูลการระบาดของโรค ที่มา ให้ความรู้จักความเป็นมาของโรค Covid-19
      จากการศึกษาทางพันธุกรรมของไวรัส และการเรียงลำดับของรหัสแต่ละตัวทำให้พบต้นตอของเชื้อ SARS-CoV-2 ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้มีจำนวนนิวคลีโอไทด์ที่เหมือนกันถึงร้อยละ 89.1 ของเชื้อ SARS-like coronaviruses ในค้างคาวที่เคยพบในประเทศจีน และในภายหลังก็มีข้อมูลที่ยืนยันว่า ต้นตอของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างโคโรนาไวรัสของค้างคาวกับโคโรนาไวรัสในงูเห่า กลายพันธุ์เป็นโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่แพร่เชื้อจากงูเห่ามายังคนได้
การที่เชื้อไวรัสจะก่อโรคในร่างกายเราได้ เราต้องได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวผ่านเยื่อบุต่าง ๆ จนนำไปสู่การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เซลล์เยื่อบุหลอดลม ซึ่งไวรัสจะใช้ผิวเซลล์ของไวรัสจับกับเอนไซม์ที่ผิวเซลล์มนุษย์ จากนั้นไวรัสจะค่อย ๆ เพิ่มจำนวนเชื้อในตัวเรา ซึ่งหากภูมิต้านทานของเราไม่สามารถจัดการกับเชื้อไวรัสนี้ได้  จำนวนเชื้อไวรัสก็จะเพิ่มมากขึ้น และกระจายไปยังเซลล์ข้างเคียง ทำลายเซลล์ในหลอดลมและปอด ทำให้ปอดอักเสบและเกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวได้

    ข้อมูลสําคัญ 
• ในวันที่19 มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขแถลงผลตรวจโรคจากห้องปฏิบัติการ และ ยืนยันการพบผู้ป่ วยใหม่ 60 รายจากโรคโควิด 19 ทําให้จํานวนรวมของผู้ที่ป่ วยด้วยโรคนี ้ ในประเทศไทย อยู่ที่272ราย
 • ผู้ป่วยใหม่ 12 รายมีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มผู้ติดเชื้อจากสถานบันเทิง( 57 ราย) และ 14 รายมีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มผู้ติดเชื ้อจากสนามมวย
 • ผู้ป่วย 12 รายเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายอื่นที่ได้มีการรายงานไปก่อนหน้านี ้ ผู้ป่วย 5 รายมีความเกี่ยวโยงกับการเข้าร่วมศาสนพิธีที่ประเทศมาเลเซีย ผู้ป่วย 13รายมีปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวต่างชาติเนื่องจากการทํางาน และอีก 4ราย กําลังอยู่ในระหว่าง สอบสวนโรค 
• จากจํานวนผู้ป่ วยด้วยโรคโควิด 19 ที่ได้รับการยืนยันทั ้งหมด 272รายในประเทศไทย มี 42 รายที่หายเป็นปกติแล้ว 229 รายกําลัง รักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาล และมีผู้เสียชีวิต 1ราย 
• จํานวนสะสมของผู้ป่ วยเฝ้าระวังที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอยู่ที่ 8,157ราย นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย ผู้ป่ วย 3,572รายในจํานวนนี้กําลังได้รับการวินิจฉัยหรือการรักษา
 • ประเทศไทยแถลงว่าจะเข้าร่วมวิจัยในโครงการ Solidarity Trial ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ระดับ นานาชาติเพื่อคิดค้นยารักษาสําหรับโรคโควิด 19 โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเร่งด่วนระดับโลกในการหายารักษาโรคโควิด 19


2.วิธีป้องกันโคโรนาไวรัส และการดำเนินการของประเทศไทย
วิธีการป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

     2. สวมหน้ากากอนามัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูดดมละอองฝอยขนาดใหญ่ได้ถึง 80%

     3. อยู่ห่างจากผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการไอ จาม อย่างน้อย 2 เมตร

     4. ล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะหลังจับหรือใช้ของสาธารณะหลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร
    

     5. หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสใบหน้า และดวงตา

     6. กินอาหารปรุงร้อน สดใหม่ และใช้ช้อนกลางทุกครั้ง


    การดำเนินการในไทย








วันที่ 28 สิงหาคม 2563
เวลา 21.00 น.

ผู้ป่วยยืนยัน (คน)
สะสม

3,410

รายใหม่

6

รุนแรง

0

เสียชีวิต

58

ผู้ป่วยยืนยันกลุ่มเดินทาง
มาจากต่างประเทศและ
กักกันในพื้นที่ที่รัฐกำหนด (คน)
สะสม

473

รายใหม่

6

เสียชีวิต

0

ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง (คน)
สะสม
414,897
รายใหม่
1,891
ผู้เดินทางที่
คัดกรองสะสม (คน)
สนามบิน
4,574,187
ท่าเรือ
168,147
ด่านพรมแดน
2,261,872
สตม.แจ้งวัฒนะ
264,299



กราฟการระบาดของโรค  Covid-19






แหล่งที่มา 
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
 

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Data science

 วิทยาการข้อมูล ( data science)

 

Data science คือกระบวนการหาองค์ความรู้ใหม่จากข้อมูลมหาศาล เพื่อใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าต่อธุรกิจหรือองค์กร โดยต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถจัดการนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ 
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล(Data Scientist)คือคนที่นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาความรู้ใหม่จากข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อหาข้อสรุปจากข้อมูลที่มี ต่อจากนั้นจึงส่งต่อข้อสรุปให้ฝ่ายอื่นนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป และนอกจากตำแหน่งนี้ยังจำเป็นต้องมีคนในตำแหน่งอื่นร่วมด้วย จึงจะสามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงที่สุด


หน้าที่หลักของ Data Scientist
  • ทำความเข้าใจในปัญหาที่ต้องการแก้ไข (Define question)
  • ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูล (Data collection)
  • ทำความเข้าใจในข้อมูลที่มี (Data understanding / Data analysis)
  • เตรียมข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนนำข้อมูลไปประมวลผล (Data preparation)
  • ประมวลผลข้อมูล (Data processing / Data modeling)
  • วัดประสิทธิภาพการประมวลผลข้อมูล (Data acquisition)
  • สรุปผลและแสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (Data visualization)
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการประมวลผลข้อมูลให้ดีขึ้น (Optimization)
  • ทำงานร่วมกับ Data Engineer เพื่อออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ง่ายต่อการนำไปประมวลผล